news

เปิดตัวแพลตฟอร์ม ทำบัตรประจำตัวคนพิการ จ่อให้บริการที่เดียวถึงจ่ายเบี้ย

พม.จับมือกับ สธ. เปิดตัวแพลตฟอร์มออกเอกสารรับรองความพิการ สามารถออกบัตรได้เลยที่โรงพยาบาลไม่ต้องเดินทางซ้ำซ้อน เพื่ออำนวยความสะดวกและลดค่าใช้จ่าย ด้าน “วราวุธ“ เร่งเจรจาหน่วยงานรัฐ หนุนให้เป็นบริการแบบจุดเดียวจบครบถึงการจ่ายเบี้ย วันที่ 20 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 น. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดงานเปิดตัวแพลตฟอร์มสำหรับการตรวจประเมินและออกเอกสารรับรองความพิการ แบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นประธานในพิธี ทั้งนี้ แพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นการรวมเอา “การออกเอกสารรับรองความพิการของแพทย์ทางอิเล็คทรอนิกส์” ของกระทรวงสาธารณสุข กับ ฐานข้อมูลคนพิการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อ “ขอมีบัตรคนพิการ” เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ทำให้คนพิการได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอน ลดการเดินทางและค่าใช้จ่าย อีกทั้งนำไปสู่การใช้ประโยชน์ของหน่วยงานด้านสุขภาพ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้งาน นำไปสู่การเชื่อมโยงฐานข้อมูลอื่น ๆ ในอนาคต

พม.เปิดให้ยื่นคำร้อง “ซ่อมบ้านผู้สูงอายุ – คนพิการ” หลังละ 40,000 บาท

ข่าวดี กระทรวงพม. จัดงบสวัสดิการซ่อมบ้านผู้สูงอายุ - ปรับสภาพที่อยู่อาศัยคนพิการ หลังละ 40,000 บาท พร้อมเปิดช่องทางให้ยื่นคำร้องได้ทั่วประเทศ นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาย้ำว่า รัฐบาลโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ดูแลสวัสดิการให้กลุ่มเปราะบาง เช่น ซ่อม สร้างบ้านให้ผู้มีรายได้น้อย คนพิการ ผู้สูงอายุ แต่ด้วยงบประมาณมีจำกัดจึงใช้ความร่วมมือกับภาคเอกชนในพื้นที่ พร้อมขอสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สร้างบ้านและใช้ช่างชุมชนหรือช่างจากทหารมาช่วยซ่อม สร้างบ้าน ขั้นตอนซ่อมบ้านผู้สูงอายุ สำหรับขั้นตอนซ่อมบ้านผู้สูงอายุ ได้กำหนดคุณสมบัติคือ 1. ผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป 2. อยู่ในครอบครัวยากจน 3. ที่อยู่อาศัยทรุดโทรม ไม่มั่นคง 4. อาศัยอยู่ในครอบครัวไม่น้อยกว่าหนึ่งปี 5. ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ โดยมีขั้นตอนการพิจารณาในต่างจังหวัด คือ • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุที่ต้องการซ่อมแซมบ้าน • จัดส่งการประมาณค่าวัสดุซ่อมแซมบ้านพร้อมด้วยเอกสารมายังสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) • พมจ. จะมีการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านสอบข้อเท็จจริงเพื่อประเมินสภาพบ้าน • พมจ.นำมาประชุมคณะกรรมการเพื่อจัดลำดับการซ่อมแซมบ้าน • พมจ. ดำเนินการจะซื้อวัสดุซ่อมแซมบ้าน จัดสรรงบประมาณไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นการสนับสนุนเฉพาะค่าวัสดุสำหรับซ่อมบ้าน • ดำเนินการซ่อมแซมบ้านภายใน 60 วัน และรายงานผลการซ่อมแซมบ้าน ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยคนพิการ ขณะเดียวกัน พม. ยังมีการดูแลปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการรายละไม่เกิน 40,000 บาท ด้วย ซึ่งคนพิการจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ • มีบัตรประจำตัวคนพิการ • อยู่อาศัยไม่น้อยกว่า 6 เดือน • ที่อยู่ไม่มั่นคง ไม่เหมาะสมกับสภาพความพิการ • มีรายได้น้อย • ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ • หรือ ได้รับแต่ไม่มีเพียงพอ ขั้นตอนการพิจารณา • คนพิการ ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะต้องยื่นคำร้อง ที่ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพฯหรือสาขา • เจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่เยี่ยมบ้านคนพิการ • พิจารณา อนุมัติแจ้งผลการอนุมัติ • เข้าปรับที่อยู่อาศัยให้คนพิการ • คนพิการ พื้นที่ต่างจังหวัดยื่นคำร้องที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) • พมจ. จะส่งเรื่องให้ อปท. ประสานให้ อปท.เป็นหน่วยให้บริการมีการเยี่ยมบ้าน สอบข้อเท็จจริงและอนุมัติงบ พร้อมปรับที่อยู่อาศัยให้คนพิการ • ส่วนกรณีไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย จะต้องมีหลักฐานจากการยินยอมจากเจ้าของกรณี เป็นบ้านเช่าต้องมีหลักฐานว่าอยู่อาศัยได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02 -354-3388 ต่อ 209 หรือศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทั่วประเทศ ที่มา : ทำเนียบรัฐบาล

การพัฒนาแอปพลิเคชันบัตรประจำตัวคนพิการดิจิทัล https://sto.go.th/disability-app/

สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองดำเนินการประสานความร่วมมือกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์สำหรับคนพิการเพื่อการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ ของคนพิการผ่านแอปพลิเคชันบัตรประจำตัวคนพิการดิจิทัล ซึ่งนับเป็นการปฏิรูปบัตรคนพิการในรูปแบบเดิม โดยแอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถใช้แทนบัตรคนพิการ ในรูปแบบเดิมเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่คนพิการในมิติต่าง ๆ อาทิ การอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการได้รับทราบและสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการจากภาครัฐที่พึงได้รับอย่างทั่วถึง การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและ การประกอบอาชีพ รับรู้ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ รับรู้ข่าวการประกาศการจ้างงานจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยคนพิการไม่จำเป็นต้องเดินทางมาติดต่อราชการที่ศูนย์บริการ เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) อีกทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลาในการขอรับสิทธิและสวัสดิการของ คนพิการอีกด้วย

การกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ

ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่มีความประสงค์จะยื่นกู้ online สามารถยื่นความประสงค์ได้ที่ https://efund.dep.go.th/

สจล. เปิดหลักสูตร “นักสื่อสารดิจิทัล”พัฒนาศักยภาพคนพิการ

สำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KLLC) ภายใต้สังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดโครงการ DEP หลักสูตร “นักสื่อสารดิจิทัล เพื่อคนพิการ สร้างงาน สร้างอาชีพ”โดยมี ผศ.ดร.ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร เป็นหัวหน้าโครงการ พร้อมด้วย รศ.ดร.จรสวรรณ โกยวานิช ผู้อำนวยการ KLLC, คุณหญิง ดร. สุมาลี อุทัยเฉลิม กรรมการสภาสถาบันฯ เข้าร่วมงานแถลงข่าวโครงการการขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการ ในงานแถลงข่าวยังได้รับเกียรติจาก นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวเปิดโครงการ ภายใต้ความร่วมมือจาก 6 สถาบันการศึกษา ได้แก่ 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) 2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) 3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) 4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) 5. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี (มสด.) 6. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพคนพิการในการประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับตนเอง ณ ห้อง Auditorium ชั้น7 อาคาร The Knowledge Exchange (KX) กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ผศ.ดร. ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว หัวหน้าโครงการนักสื่อสารดิจิทัลสำหรับคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ” กล่าวว่า เป้าหมายของการอบรม คือ คนพิการสามารถมีทักษะในการประกอบอาชีพอิสระด้านการผลิตสื่อ และการสื่อสารดิจิทัล โดยสามารถทำเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักได้ที่บ้านไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน โดยร้อยละ 100 ของผู้ผ่านหลักสูตรส่งเสริมการทำอาชีพอิสระ มีรายได้ ไม่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ปี พ.ศ. 2567 (328 บาท/ วัน) และยังสามารถสร้างเครือข่ายบุคลากรของสถาบันทั้ง คณาจารย์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถปฏิบัติงานเรื่องการเพิ่มศักยภาพคนพิการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการได้อย่างยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 30 ราย สำหรับหลักสูตรนักสื่อสารดิจิทัล DEP MASTERCLASS มาจากแนวคิดหลักสูตร “นักสื่อสารดิจิทัล” เพื่อคนพิการ สร้างงาน สร้างอาชีพ” ซึ่งความหมายของชื่อโครงการมีที่มาประกอบด้วย DEP มาจากชื่อย่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และยังมาจากความหมายของ D: Development Digital Skills, E = Empowerment, P = People, Professional Training หมายถึงเป้าหมายของโครงการในการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เพื่อคนพิการ และDisable Persons can make Everything Possible. โดยมีรายวิชา ดังนี้ 1. วิชาการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล 2. วิชาการเขียนบทความ การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ 3. วิชาการถ่ายภาพ การทำภาพเพื่อการตลาด 4. วิชาการทำอินโฟกราฟฟิก การทำเอกสาร สื่อวิดีโอ นำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการ 5. วิชาการพูดในที่สาธารณะ 6. วิชาการพัฒนาบุคลิกภาพ และการสื่อสารอย่างมืออาชีพ 7. วิชาการตลาดดิจิทัล โดยในแต่ละวิชามีแผนการจัดอบรมด้วยระยะเวลารวมตลอดหลักสูตร 420 ชั่วโมง ทั้งนี้ จะเริ่มอบรมระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2567 ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดและสมัครเรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายได้วันนี้ ถึง 31 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจำนวนผู้สมัครจะครบ 50 คน สามารถสมัครได้ที่ ลิ้งค์ https://shorturl.at/dnCV4

กสทช. ผนึก “AIS-TRUE-NT” ออกแพ็กเกจรายเดือนสำหรับคนพิการเดือนละ 66 บาท

• วันที่ 27 เมษายน 2567 นายต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. ได้ร่วมกับพร้อมผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AIS บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ True Move H ได้ออกแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตสำหรับคนพิการ รายละเอียดดังนี้

พก.เตรียมคนพิการสู่ตลาดแรงงาน

นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กล่าวในการเป็นประธานเปิด “การประชุมเชิงปฏิบัติการการเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพของคนพิการ เพื่อส่งเสริมอาชีพด้าน Social Commerce” ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีคนพิการที่ได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการมีจำนวนกว่า 2.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 3.39 ของประชากรทั่วประเทศ เป็นคนพิการวัยแรงงานจำนวน 863,195 คน หรือร้อยละ 38.53 ดังนั้น พก.จึงได้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนงาน 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1.การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย 2.การค้นหาคนพิการเพื่อขึ้นทะเบียนคนพิการให้ได้รับสิทธิสวัสดิการตามที่กฎหมายกำหนด และ 3.การลดการส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยการส่งเสริมให้มีการจ้างงานคนพิการมากขึ้นทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้การสร้างโอกาส สร้างอาชีพให้คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ พก.ได้บูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ในการเตรียมความพร้อมคนพิการเพื่อรองรับตลาดแรงงาน หรือเข้าสู่ระบบการจ้างงาน การสร้างอาชีพทางเลือกสำหรับคนพิการ การพัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อการต่อยอดอาชีพในการสร้างรายได้เพิ่ม และการสนับสนุนการรวมกลุ่มประกอบอาชีพของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ โดยให้คนพิการและผู้ดูแลคนพิการสามารถประกอบอาชีพได้ อธิบดี พก.กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการใน 3 ประเด็นดังกล่าว สามารถส่งเสริมให้คนพิการและครอบครัวคนพิการมีอาชีพ มีรายได้ที่เป็นรูปธรรม ผ่านการทำงานร่วมกับเครือข่ายและองค์กรที่มีความรู้ความสามารถ จะทำให้คนพิการและครอบครัวคนพิการอยู่ในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งการพัฒนาศักยภาพคนพิการและผู้ดูแลคนพิการในครั้งนี้ถือเป็นการเตรียมความพร้อมคนพิการ เพื่อส่งเสริมอาชีพด้านดิจิทัล ยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีความมั่นคงด้านอาชีพ สร้างโอกาสให้คนพิการได้แสดงศักยภาพและความสามารถให้สังคมได้รับรู้.

เพิ่ม “เท้าเทียมไดนามิก” เป็นสิทธิประโยชน์บัตรทอง ช่วยผู้พิการเดินได้สะดวก

บอร์ด สปสช. ยกระดับคุณภาพชีวิต “ผู้พิการขาขาด” เห็นชอบเพิ่ม “เท้าเทียมไดนามิก” เป็นสิทธิประโยชน์บัตรทอง ช่วยให้การเดินมีความสะดวก ขยับได้คล้ายเท้าปกติ พร้อมประสาน TCELS. ประเมินผลการใช้ ด้าน เลขาฯสปสช. ชี้เตรียมเดินหน้าต่อรองราคา

เช็กเงื่อนไข! เปิดยื่นขอรับเงินซ่อมแซมบ้าน 40,000 บาท

ข่าวจริง เปิดให้ผู้สูงอายุยื่นขอรับเงินซ่อมแซมบ้าน 40,000 บาท เช็กเงื่อนไข คุณสมบัติใดมีสิทธิรับเงิน ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง พมจ. เปิดให้ผู้สูงอายุสามารถยื่นขอเงินซ่อมแซมบ้าน จำนวน 40,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง การปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสม และปลอดภัย เป็นการดําเนินการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้กับผู้สูงอายุให้มีสภาพที่มั่นคง ปลอดภัยต่อการดําเนินชีวิต โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้ - มีฐานะยากจน หรือรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ - ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ - ที่อยู่อาศัย ไม่มั่นคง ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยกับการดํารงชีวิตของผู้สูงอายุ กรณีที่อยู่อาศัยและที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของที่อยู่อาศัย ไม่ได้เป็นของผู้สูงอายุหรือทายาท ต้องอาศัยอยู่จริงไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย โดยงบประมาณในการดําเนินการ เป็นค่าดําเนินการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ รวมทั้งค่าบริหารจัดการและค่าตอบแทนในอัตราเหมาจ่ายหลังละไม่เกิน 40,000 บาท โดยถัวจ่ายทุกรายการ เอกสารยื่นคําขอบเงินซ่อมแซมบ้าน - บัตรประชาชน - ทะเบียนบ้าน - หนังสือยินยอมให้ปรับปรุง สถานที่ยื่นคําขอบเงินซ่อมแซมบ้าน - สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส) - องค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาลตําบล เทศบาลเมือง เทศบาลนครเมืองพัทยา ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารจากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.dop.go.th/ หรือโทร. 02-642-4336

ลุ้น "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ -เบี้ยคนพิการ 2567 "จ่ายเดือนละ 1000 บาท

ข่าวดีกลุ่มเปราะบาง เตรียมลุ้นปรับปรุงเบี้ยผู้สูงอายุ-เบี้ยคนพิการ 1000 บาทต่อเดือน และเงินอุดหนุนบุตร แบบถ้วนหน้า เด็กทุกคนในประเทศไทยได้เงินช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบาง อันประกอบไปด้วยเด็กแรกเกิด -6 ขวบ ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ที่ได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เตรียมลุ้นการปรับปรุงเงินช่วยเหลือครั้งใหม่ รวมไปถึงการปรับปรุงเงื่อนไขการรับเงินสนับสนุนช่วยเหลือ เพราะล่าสุดเจ้ากระทรวงอย่าง "นายวราวุธ ศิลปอาชา" ได้นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ ซึ่งประเด็นที่ได้มีการพูดคุยประชุมกันนั้น มีเรื่องที่น่าสนใจ เริ่มตั้งแต่ เงินอุดหนุนบุตร ที่จะเร่งผลักดันโครงการเด็กแรกเกิดถ้วนหน้า ส่วนผู้สูงอายุ และ ผู้พิการ จะมีการปรับปรุงเบี้ยเป็น 1,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้สามารถตรวจสอบบทสรุปการประชุมในครั้งนี้ได้ดังต่อไปนี้

ชลบุรี จัดงานวันคนพิการสากล ประจำปี 2566

วันที่ 26 มกราคม 2567 นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานจัดงานวันคนพิการแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ ศาลาประชาคม เทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานสังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายวิทยา คุณปลื้ม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี กล่าวต้อนรับ ด้วยองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคนพิการสากล และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิก ร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจของสังคมเกี่ยวกับคนพิการ และให้โอกาสคนพิการ ได้มีส่วนร่วม ในทุกกิจกรรมของสังคมอย่างสร้างสรรค์เป็นธรรม และเสมอภาคกับคนทั่วไป ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาส วันคนพิการสากลเป็นประจำทุกปี ทั้งในส่วนกลางและจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยในปีนี้ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดประเด็นหลัก คือ "United in action to rescue and achieve the SDGs for, with and by persons with disabilities" "รวมพลังเป็นหนึ่งเดียว เพื่อพลิกฟื้นและบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ ยั่งยืนร่วมกับคนพิการ เพื่อคนพิการ โดยคนพิการ” เพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคมมารวมพลังกันขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านคนพิการให้เป็นโลกที่น่าอยู่และมีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น นางสาวจันจิรา ไทยบัณฑิตย์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชลบุรี กล่าวว่า จากสถานการณ์คนพิการในปัจจุบัน จังหวัดชลบุรีมีคนพิการที่ได้รับการ ออกบัตรประจำตัวคนพิการ มีจำนวน 30,052 คน คิดเป็นร้อยละ 1.88 ของประชากร ในจังหวัดชลบุรี และพบว่าคนพิการที่มีอายุมากว่า 60 ปี หรือคนพิการสูงอายุมีจำนวนสูงถึง 13,650 คน คิดเป็นร้อยละ 45.42 ของจำนวนคนพิการทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ระบุว่า ในปี 2571 สังคมไทย จะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) และจากสถิติของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น พบแนวโน้มมีความเสี่ยง ที่จะมี ความพิการร่วมด้วย และเมื่อพิจารณาจากประเภทความพิการ พบว่า ส่วนใหญ่พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย 15,617 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 51.96% รองลงมา เป็นความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย และพิการทางสติปัญญาตามลำดับ สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การอภิปราย “สร้างโอกาส สร้างอาชีพให้แก่คนพิการ" การอ่านสารวันคนพิการสากล ประจำปี 2566 การมอบโล่ ประกาศเกียรติคุณให้แก่คนพิการและหน่วยงาน/องค์กรที่มีการดำเนินงานด้านการ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ การแสดงศักยภาพของคนพิการ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนพิการ รวมถึงนิทรรศการวิชาการ และผลิตภัณฑ์/ผลงานที่เป็นผลสำเร็จจากการพัฒนาศักยภาพของคนพิการ และการจับฉลาก มอบของรางวัลให้กับคนพิการ โดยมี นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายวิทยา คุณปลื้ม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำของขวัญของรางวัล มามอบให้เพื่อจับฉลากต่อไป นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า คำกล่าวเปิด ในอดีตทัศนคติของสังคมและคนทั่วไปที่มีต่อผู้พิการ เป็นรูปแบบของการสงเคราะห์ที่คนพิการต้องได้รับการช่วยเหลือดูแลจากสังคม ไม่ใช่ “สังคมที่อยู่ ร่วมกัน” ทั้งๆ ที่คนพิการจำนวนมากสามารถดูแลตัวเองได้ ช่วยเหลือสังคมได้ และเป็นผู้ให้ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้รับเสมอไป เช่น กิจกรรมต่างๆ ในวันนี้ ที่ทุกหน่วยงาน ในจังหวัดชลบุรี ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน โดยเฉพาะองค์กรคนพิการ ร่วมกันจัดกิจกรรมขึ้น เพื่อให้คนพิการมีพื้นที่ในการแสดงออกถึงศักยภาพ และความสามารถ ที่มีในด้านต่างๆ ให้คนในสังคมรับรู้ และเพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในการสร้างโอกาส เพื่อส่งเสริมให้คนพิการสามารถดำรงชีวิต บนพื้นฐานศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และส่งเสริมความเสมอภาค สามารถเข้าถึง ใช้ประโยชน์จากสิทธิได้อย่างแท้จริง และมุ่งหวังให้คนพิการได้รับสิทธิ สวัสดิการอย่างทั่วถึง รวมถึงสร้างสังคมในการอยู่ร่วมกัน ของคนพิการ ครอบครัว และทุกคนในสังคม ด้วยความเสมอภาคในทุกด้าน หรือการเป็น “สังคมแห่งโอกาส” ด้วยการมีส่วนร่วม และการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนอย่างเต็มที่ความพิการ ซึ่งจะส่งผลให้คนพิการได้รับโอกาสทางสังคมเท่าเทียมกับคนทั่วไป ที่มาของข่าว สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

พก. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานและร่วมเสวนาในโครงการ คปภ. เพื่อคนพิการ (ปี 3)

วันนี้ (12 ธ.ค. 66) เวลา 13.00 น. ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา นางณฐอร อินทร์ดีศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการ คปภ. เพื่อคนพิการ (ปี 3) ภายใต้แนวคิด "คปภ. โอกาส ความสุข ความสำเร็จ ส่งต่อได้" (Sharing Happiness Together) พร้อมร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องนโยบายด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันภัยให้เข้าถึงคนพิการได้อย่างเต็มระบบ รวมถึงสนับสนุนการสร้างโอกาสทางอาชีพและสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้คนพิการในประเทศ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี ต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมประกันภัยต่อไปในอนาคต

‘กัญจนา’ ให้กำลังใจสาวตาบอดเล่นดนตรีเปิดหมวก หลังถูกลุงหัวร้อนด่า แนะปัญหาอยู่ที่เขา ไม่ใช่เรา

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ที่ตลาดฟู้ดดี้ฟาร์มบางใหญ่ จ.นนทบุรี น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ที่ปรึกษาคณะที่ปรึกษาติดตามและเร่งรัดขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะที่ปรึกษาศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจ กรณีที่สาวพิการทางสายตาร้องเพลงเปิดหมวกเพื่อหาเงินจุนเจือครอบครัว แต่ถูกชายสูงวัย บุกต่อว่าโวยวายว่าเสียงดังรบกวน ขณะเล่นเปิดหมวกหารายได้หน้าห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งย่านรัชดาเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ทำเอาเจ้าตัวร้องไห้ รีบเก็บของกลับบ้าน ยุติการเล่น และโพสต์ผ่านเพจส่วนตัว “พิมมี่ คีย์บอร์ด” ระบุ “เหนื่อยจนแทบกินน้ำตา ชีวิตต้องดิ้นรนแต่บางครั้งก็รู้สึกท้อมาก”

เสาไฟรั่วช็อตหญิงวัย 46 ปี ดับ บนถนนปทุม-สามโคก กฟภ.ลงพื้นที่ตรวจสอบ

ปทุมธานี หญิงวัย 46 ปี ข้ามถนนกลับจากซื้อของ เกิดขาอ่อนแรงไปจับเสาไฟส่องสว่างบนเกาะกลางถนน ถูกไฟดูดเสียชีวิตคาเสา ขณะที่ชาวบ้านแจ้ง กฟภ.สามโคก ลงพื้นที่ตรวจสอบ

"วราวุธ" ประกาศ 3 แนวทางขับเคลื่อนงาน พม.

เปลี่ยนครหาคนมองเป็นกระทรวงเกรดต่ำ ดันองค์การสร้างคนคุณภาพ เล็งแก้กฎหมาย 3 ฉบับ ขจัดปัญหาการทำงาน

ภาคประชาสังคมยื่นหนังสือค้านตัด

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นสวัสดิการของรัฐสำหรับคนไทยอายุมากกว่า 60 ปี แต่ ก.ค.ที่ผ่านมา ปลัดฯ ก.การคลัง ระบุกำลังศึกษามาตรการลดรายจ่าย หนึ่งในนั้น คือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แนวคิดดังกล่าวสร้างความไม่สบายใจต่อภาคประชาสังคม เตรียมยื่นหนังสือคัดค้านวันนี้

นายอำเภอขอโทษ จนท.ให้หามผู้ป่วยติดเตียงทำบัตร ปชช. กลับไปบ้านเสียชีวิต

นายอำเภอเมืองปทุมธานี ไหว้ขอโทษลูกสาวและครอบครัว ที่ จนท.ห้องบัตรให้พาพ่อป่วยติดเตียงมาทำบัตรประชาชน จนต้องขอกู้ภัยหามขึ้นอำเภอ ทำเสร็จ กลับไปเสียชีวิตที่บ้านในวันถัดมา บอกขอให้เคสนี้เป็นเคสสุดท้าย จนท.ที่บกพร่องก็ต้องมีการลงโทษ

สวิตเซอร์แลนด์สร้างอุปกรณ์ฟื้นฟูผู้ป่วย “อัมพาต” ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง

พลิกวิธีรักษา “อัมพาต” ที่ขาให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง ด้วยอุปกรณ์รักษาอัมพาตจากสวิตเซอร์แลนด์ที่ใช้การอ่านคลื่นไฟฟ้าในสมองและส่งต่อไปยังขาที่อัมพาต

พรรคเปลี่ยนอนาคตร่วมทวงสิทธิคนพิการ ทำตามนโยบาย “คนพิการต้องเข้าถึงสิทธิตามกฎหมาย”

วันนี้ (25 เม.ย 66) เวลา 11.00 น. ผศ.ดร.อัครนันท์ อริยศรีพงษ์ หัวหน้าพรรคเปลี่ยนอนาคต นายพินโย รู้ธรรม ผู้อำนวยการพรรคเปลี่ยนอนาคต นางอุมาพร แพรประเสริฐ เลขาธิการพรรคเปลี่ยนอนาคต พร้อมสมาชิกพรรค ได้เดินทางไปสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมเป็นกำลังใจแก่มูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ โดยนายปรีดา ลิ้มนนทกุล เลขาธิการมูลนิธิปัญพัฒน์ และสมาชิกมูลนิธิปัญพัฒน์ ได้ยื่นหนังสือต่อเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องขอความเห็นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติตามข้อกฎหมายเพื่อให้คนพิการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมาย (กรณีคนที่มีความพิการแต่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนขอมีบัตรคนพิการได้กว่า 2.4 ล้านคนทั่วประเทศ) ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นหนึ่งในนโยบาย 6 ทุน 5 เปลี่ยน ของพรรคเปลี่ยนอนาคตที่ได้แถลงไว้

กองทัพภาค 3 ขอโทษ ปมแม่พาลูกติดเตียงมาเกณฑ์ทหาร ตำหนิผู้เกี่ยวข้องแล้ว

เมื่อวันที่ 9 เม.ย.66 พ.อ.รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์ โฆษกกองทัพภาคที่ 3 กล่าวถึงกรณีข่าวผู้ป่วยติดเตียง ไม่สามารถเดินทางมาแสดงตนในการตรวจเลือกทหารได้ โดยให้ผู้ปกครองนำเอกสารประวัติการป่วย และใบรับรองแพทย์มาแจ้งต่อคณะกรรมการในวันตรวจเลือกฯ ว่า

10 พรรคการเมือง ชูนโยบายรัฐสวัสดิการ เพิ่มเบี้ยกลุ่มเปราะบาง ผลักดัน กม.เท่าเทียมทางเพศ

ภาคประชาสังคมจัดเวทีเสวนาประชาหารือ ตามแนวคิด “สังคมดี - การเมืองดี ต้องมีสตรีร่วมทาง 10 พรรคการเมือง ชูนโยบายรัฐสวัสดิการ เพิ่มเบี้ยกลุ่มเปราะบาง ผลักดัน กม.เท่าเทียมทางเพศ 15 มี.ค.2566 ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายเพื่อการพัฒนา สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี สถาบันพระปกเกล้า ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) UN Women สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และ Friedrich Ebert Stiftung (FES) ร่วมกันจัดเวทีเสวนาประชาหารือ เนื่องในวาระวันสตรีสากลและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการเลือกตั้ง ตามแนวคิด “สังคมดี - การเมืองดี ต้องมีสตรีร่วมทาง : women Together Stand for Good Society & good Politicals” ณ ห้องประชุม Infinity Ballroom1 โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ในเวทีเสวนาดังกล่าว ได้เปิดโอกาสให้ องค์กรภาคประชาสังคมนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายต่อพรรคการเมือง ประกอบด้วย กลุ่มเด็ก เยาวชน ผู้หญิง แรงงานใน-นอกระบบแน และแรงงานข้ามชาติ คนพิการ อาสาสมัครผู้สูงอายุ กลุ่มหลากหลายทางเพศ กลุ่มเคลื่อนไหวรัฐสวัสดิการต่างๆ โดยสรุปดังนี้ กลุ่มสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า สุนี ไชยรส ยังยืนยันข้อเสนอสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า 3000 บาทตั้งแต่แรกเกิด สิทธิลาคลอด 180 วัน รวมถึงการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กทุกๆพื้นที่ให้เปิดปิดเหมาะสมกับเวลาทำงานของผู้ปกครอง ในขณะที่ผู้แทนกลุ่มเยาวชนจากพื้นที่สลัม ได้ขอให้พัฒนาพื้นที่ชุมชนแออัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทั่วไป และขอเปิดโอกาสให้เด็กๆในพื้นที่ดังกล่าว ได้นำเสนอความสามารถ ส่วนสมาคมเพศวิถีขอให้มีนโยบายบรรจุเรื่องเพศศึกษาลงในหลักสูตรการศึกษาของเยาวชน ด้านแรงงานนอกระบบ ขอให้มีนโยบายปรับกฎหมายแรงงานให้สอดคล้องกับอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ รวมถึงปฏิรูประบบประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานทุกระดับ จากนั้น นักการเมืองหญิงจากพรรคการเมืองต่างๆ ได้นำเสนอนโยบายเพื่อให้สอดรับกับข้อเสนอของผู้แทนภาคประชาสังคม ซึ่งเกือบทุกพรรคจะมีนโยบายต่อกลุ่มเปราะบางคล้ายคลึงกัน ดังนี้

เลือกตั้ง 2566 : ผู้สูงอายุ คนพิการ เลือกตั้งวันไหน ทำอย่างไรบ้าง

เลือกตั้ง 2566 จัดขึ้นวันที่ 14 พฤษภาคม แต่ผู้สูงอายุ คนพิการ จะใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 7 พฤษภาคม โดยมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกในการลงคะแนน

เรื่องนี้ต้องถึงชัชชาติ! บก.ลายจุดคว้าประแจถอดแท่งเหล็กขวางผู้พิการ หลังคิดหนัก 1 ชม. เต็ม

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด โพสต์ข้อความโดยแท็กชื่อนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมเล่าถึงปัญหาการเดินทางของ ‘น้ำพุ’ ผู้พิการขณะเดินทางไปสัมภาษณ์งาน โดยพบแท่งเหล็กขวางอยู่บนสะพาน

อุทาหรณ์ ชายพิการ นำปลั๊กสามตามัดติดไม้เท้า ไฟช็อตดับ

ชายพิการเดินไม่ได้วัย 59 ชาว อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ นำปลั๊กสามตาผูกติดกับไม้เท้าอะลูมิเนียม เพื่อความสะดวกในการใช้งาน เพราะเคลื่อนไหวลำบาก สุดท้ายถูกไฟช็อตเสียชีวิตคาไม้เท้า แม่วัย 86 เห็นลูกนอนแน่นิ่งเอามือไปจับจะเรียกลูกถูกไฟดูด 3 ครั้ง ช่วงเย็นวันที่ 3 มี.ค.66 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีเหตุไฟฟ้าช็อตชายพิการทางการเคลื่อนไหว เสียชีวิตอยู่ภายในบ้านไม่มีเลขที่ ในหมู่บ้านประคอง ต.เมืองยาง อ.ชำนิ จึงได้ประสานหน่วยกู้ภัยฯ และแพทย์เวร รพ.ชำนิ ร่วมตรวจสอบ

พรรคก้าวไกล เสนอสวัสดิการเพื่อคนพิการได้ ‘ใช้ชีวิต’ เหมือนคนทุกคน

3 ธ.ค. 2565 เพจพรรคก้าวไกล รายงานว่าเนื่องในวันผู้พิการสากล (International Day of Disabled Persons) ที่สหประชาชาติกำหนดให้ตรงกับวันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี พรรคก้าวไกลและ Think Forward Center - ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต ตระหนักถึงความยากลำบากที่คนพิการทั่วประเทศต้องประสบ และตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนพิการทุกคน เราจึงมุ่งมั่นออกแบบนโยบายเพื่อยกระดับสิทธิและสวัสดิการของคนพิการ ให้ทุกคนสามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และเข้าถึงสิทธิสวัสดิการต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน

ส.ว.ผุดไอเดียแจกเงินคนละ 500 ค่าเดินทางไปเลือกตั้ง แก้ปัญหาซื้อสิทธิ์ขายเสียง

นายวงศ์สยาม กล่าวว่า วันนี้มีผู้ซื้อสิทธิขายเสียงอยู่มากมาย ประกอบกับสังคมไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ จึงอยากเสนอให้ กกต. กำหนดให้มีค่าพาหนะสำหรับประชาชนที่เดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในเบื้องต้นกำหนดให้คนละ 500 บาท ซึ่งจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 20,000 ล้านบาทเท่านั้น โดยคำนวณจากผู้สิทธิเลือกตั้งประมาณ 40 ล้านคน ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และยังช่วยให้ประชาชนเกิดแนวคิดที่จะตอบแทนคุณแผ่นดิน เพราะประชาชนได้รับเงินหลวง ไม่ใช่นักการเมือง ทำให้ประชาชนเลือกคนดี มีความรู้ เข้ามาทำหน้าที่ นายวงศ์สยาม ยังกล่าวว่า ทุกวันนี้นโยบายของรัฐบาลในการให้งบประมาณประชาชน 300-500 ต่อเดือนรวมถึงคนละครึ่ง ปีหนึ่งใช้งบประมาณเป็นแสนกว่าล้านบาท ในขณะที่การเลือกตั้งเกิดขึ้น 4 ปีครั้ง นอกจากนี้ในกฎหมายเลือกตั้งยังมีข้อห้ามไม่ให้นักการเมืองขนคนมาเลือกตั้ง แต่ในข้อเท็จจริงในต่างจังหวัดอยู่ในพื้นที่ห่างไกล จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งการเสนอเงื่อนไขนี้อย่างน้อยทำให้ประชาชนรู้สึกว่าประชาธิปไตยกินได้ กินได้ตั้งแต่การเลือกตั้งใช้สิทธิ แม้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ แต่ข้อเท็จจริงมีค่าใช้จ่าย สังคมไทยจึงควรยอมรับความเป็นจริงเหล่านี้

คนพิการเตรียมเฮ! รัฐแก้ระเบียบอำนวยความสะดวกผ

คนพิการเตรียมเฮ! จุรินทร์เคาะแก้ระเบียบบอร์ดคนพิการ อำนวยความสะดวกคนพิการเข้าถึงสิทธิเพิ่มจำนวนผู้ดูแลคนพิการ 08 ธ.ค.2565 - นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.2565 ซึ่งมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ได้มีการพิจารณาแก้ไขระเบียบ กพช.เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ และเพิ่มการคุ้มครองสิทธิคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล และสิทธิของผู้ดูแลคนพิการ ซึ่งที่ผ่านมานายจุรินทร์ได้สั่งการให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พิจารณาการลดขั้นตอนในการเข้าถึงสิทธิการขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ และการสนับสนุนการทำงานของผู้ดูแลคนพิการ